วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์

การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีข้อกำหนดความต้องการของอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตัดสินใจก่อนที่จะติดตั้งโปรแกรมหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม มีดังนี้
1.สำรวจความต้องการใช้โปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้ว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ต้องการใช้นั้นใช้กับระบบปฏิบัติการใด
2.สำรวจความเหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะหน่วยประมวลผลกลาง ขนาดความจุของหน่วยความจำหลัก และขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกชนิดจะบอกคุณลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ (system requirement) ไว้เสมอ
3.งบประมาณในการจัดซื้อระบบปฏิบัติการ
4.ศึกษาข้อมูลการให้บริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน

โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

               โปรแกรมป้องกันไวรัส (anti virus program) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายคนหรือการใช้งานในระบบเครือข่าย มักเกิดการเผยแพร่จากไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งไวรัสเป็นโปรแกรมที่ผู้ไม่ประสงค์ดีพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ ทำลายข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งรบกวนการทำงานต่างๆ เช่น ทำให้บูตระบบช้าลง ไม่สามารถเรียกใช้โปรแกรมได้สมบูรณ์ ทำให้คอมพิวเตอร์เกิดอาการค้าง(hang) หรือมีข้อความพิมพ์อัตโนมัติที่หน้าจอ เป็นต้น ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จึงได้พัฒนาโปรแกรมขึ้น เพื่อค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า โปรแกรมป้องกันไวรัส ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
      แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในเคริ่องคอมพิวเตอร์ เช่น McAfee VirusScan, Kaspersky, AVG AntiVirus, Panda Titanium เป็นต้น
      แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจมกรรมข้อมูลจากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัดแอดแวร์ (adware) ซึ่งเป็นป็อปอัพโฆษณาในอินเทอร์เน็ตอีกด้วย เช่น McAfee AntiSpyware, Ad-Aware SE Pro, Spyware BeGone เป็นต้น


โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

           โปรแกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ (standalone utility programs )
เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังนี้

            โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression utility) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็งลง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์ เรียกว่า ซิบไฟล์ ( zip file ) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ที่นิยมใช้ เช่น Winzip, Winrar เป็นต้น
            โปรแกรมไฟร์วอล์ (firewall) เป็นโปรแกรมที่ช่วยป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามาในระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตทั้งจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบ ถ้าพบว่ามีข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเป็นข้อมูลจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่เข้ามาในระบบ โปรแกรมจะไม่อนุญาตให้ข้อมูลดังกล่าวเข้ามาในระบบ โปรแกรมไฟร์วอล์เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นิยมใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Windows Firewall, ZoneAlarm, Lavasoft Personal Firewall, Pc Tools Firewall Plus เป็นต้น 


โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

       โปรแกรมรักษาหน้าจอ (screen saver) เป็นโปรแกรมสำหรับรักษาและช่วยยืดอายุการใช้งานจอภาพของคอมพิวเตอร์ กล่าวคือ การเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและปล่อยทิ้งไว้แสดงภาพเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉายผิวจอ และไม่สามารถลบออกหายออกไปได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานจะส่งผลให้อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สั้นลง ในการใช้โปรแกรมดังกล่าวผู้ใช้สามารถตั้งค่าระยะเวลาให้โปรแกรมตรวจสอบ และเริ่มทำงานได้ หากไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆของจอภาพ เช่น ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที เป็นต้น เมื่อเราขยับเมาส์ หรือเริ่มที่จะทำงานใหม่ โปรแกรมนี้ก็จะปิดไปอัตโนมัติ


โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

          โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ (disk defragmenter) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ เมื่อมีการเรียกใช้งานฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์นั้นอยู่บ่อยๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบและไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน เมื่อต้องการเรียกใช้อีกในภายหลังจะทำให้เวลาในการดึงข้อมูลนั้นๆช้าลง ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวช่วยจัดเรียงไฟล์ต่างๆให้เป็นระเบียบ
         

โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

             โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม (uninstaller) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ในระบบออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตจะติดตั้งโปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งโปรแกรมประยุกต์อยู่แล้ว



            โปรแกรมสแกนดิสก์ (disk scanner) เป็นโปรแกรมช่วยตรวจสอบความเสียหายหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ กล่าวคือ เมื่อใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นเวลานาน มักเกิดส่วนที่เสียหาย ที่เรียกว่า bad sector ส่งผลให้การทำงานของฮาร์ดดิสก์ช้าลง หรืออาจทำให้การบันทึกหรือเขียนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ยากขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ เพื่อค้นหาส่วนที่หาย ไฟล์ที่มีข้อผิดพลาด และซ่อมแซมส่วนที่เสียหายได้



ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

        โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับปฏิบัติการ (OS utility programs)
เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรม มีดังต่อไปนี้

         โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการไฟล์ต่างๆ ได้แก่ การคัดลอกแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล และการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆได้เพิ่มความสามารถการแสดงไฟล์เป็นรูปภาพเสมือนจริง (image view) ทำให้การใช้งานมีความสะดวกละรวดเร็วมากยิ่งขึ้น


โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ)

     โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ (utility programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

โปรแกรมอรรถประโยชน์



โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้  (utility programs) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อการจัดการงานพื้นฐานและบริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถใช้จัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

           (2) ระบบปฏิบัติการพ็อกเก็ตพีซี (Pocket PC OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้โดยกราฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน (multi-tasking) เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมลได้พร้อมกับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น
                (3) ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทซิมเบียน ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟน มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบการฟิก สนับสนุนการทำงานแบบการใช้งานหลายงานในเวลาเดียวกัน


ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

             ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ได้แก่ พีดีเอ ปาล์ม โทรศัพท์มือถือ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะถูกเก็บไว้ในรอม (ROM) ของเครื่อง ใช้หน่วยความจำน้อย สามารถป้อนข้อมูลโดยใช้สไตลัส (stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการแบบฝังจึงต้องมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (hand writing recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบฝัง มีดังต่อไปนี้

                (1) ระบบปฏิบัติการปาล์ม (Plam OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่เรียกว่า เครื่องปาล์ม มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการปาล์มและเครื่องปาล์มถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทปาล์มซอร์ซ์ (Plam Inc.) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ได้รับนิยมอย่างแพร่หลาย

ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

            (3) ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ พัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซัน ไมโคร ซิสเต็ม ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือการขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ในอนาคตระบบปฏิบัติการโซลาริสมีโครงการจะพัฒนาเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (Open Source) ด้วย


ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

             1) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลและโปรแกรมกับเครื่องลูกข่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์มีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Windows NT, Windows 2000, Windows Server 2003 และ Windows Server 2008



                
(2) ระบบปฏิบัติการโอเอสทู วาร์ป (OS/2 Warp Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม ออกแบบมาเพื่อใช้เป็นระบบควบคุมเครื่องแม่ข่าย ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟิก แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทางบริษัทไอบีเอ็มจึงเลิกพัฒนา ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทเซเรนิตีซิสเต็ม (Serenity System) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า eComStation โดยรุ่นแรกคือ 1.2R และรุ่นล่าสุดคือรุ่น 2.0 RC7 Silver วางจำหน่ายเดือนสิงหาคม พ.ศ.2552

ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

              ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (network operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ รวมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น สามารถรองรับผู้ใช้งานได้หลายคน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย ใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (client server system) กล่าวคือ เครื่องแม่ข่าย (server) สามารถให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย (client) ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกันหากเครื่องลูกข่ายเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย ส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการเครือข่ายสำหรับการเรียกใช้ข้อมูลและการจักการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องแม่ข่ายในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องลูกข่าย ได้แก่ การประมวลผลและการติดต่อกับผู้ใช้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย มีดังต่อไปนี้

ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

                  (5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) มีลักษณะคล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์แต่มีขนาดเล็กและทำงานได้เร็วกว่า เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้กไปใช้งาน แก้ไข หรือจำหน่ายได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ต่อมามีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์โดยเพิ่มความสามรถให้ใช้กับระบบเครือข่ายได้ ผู้ที่ต้องการใช้งานต้องดาวน์โหลดมาโดยเสียค่าใช้จ่ายด้วย


ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

             (4) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macintosh Operating System: MAC OS) ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของแมคอินทอชเท่านั้น ซึ่งเครื่องแมคอินทอชเป็นของบริษัท Apple ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการแรกที่สามารถทำงานเกี่ยวกับกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการประเภทนี้ติดต่อกับผู้ใช้งานโดยรูปแบบกราฟิก มีความสามารถในการทำงานได้หลายโปรงแกรมในเวลาเดียวกัน เหมาะกับงานในด้านสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะ


ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

           (3) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ในระยะแรกระบบปฏิบัติการยูนิกซ์พัฒนาเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้งานหลายคนในเวลาเดียวกัน (multi-user) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนการใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติกาอื่นๆได้ เช่น DOS, Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V เป็นต้น 


ประเภทของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)

               (2) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบกราฟิก นอกจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์ยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้หลายด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล เป็นต้น จึงทำให้มีผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์อย่างแพร่หลาย ได้แก่ Windows 3.0, 3.1, 3.11, Windows 95, 98, ME, Windows NT, 2000, XP, Vista, Seven



ประเภทของระบบปฏิบัติการ


            ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (stand – alone operating system) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียว กล่าวคือเป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติแบบการเดียวได้ขยายขีดความสามารถให้รองรับการเชื่อมต่อกับเป็นระบบเครือข่ายได้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติแบบการเดี่ยว มีดังต่อไปนี้
                (1) ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยรูปแบบบรรทัดคำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ โดยระบบปฏิบัติการดอสรุ่นแรกเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไปบีเอ็มและใช้ชื่อระบบปฏิบัติการว่า PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการดอสของตนเองขึ้นมา โดยใช้คำว่า MS-DOS สำหรับใช้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของบริษัทไอบีเอ็ม


รูปแบบการติดต่อผู้ใช้งาน (ต่อ)


1.2) แบบกราฟิก (graphic user interface : GUI) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งานโดยการใช้รูปภาพเล็กๆ เป็นสัญลักษณ์แทนไฟล์หรือโปรแกรม ที่เรียกว่า รายการเลือก (menu) หรือไอคอน (icon) ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้โดยใช้เมาส์คลิกเลือกที่รูปภาพนั้น เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมต่างๆ ทำให้ใช้งานได้สะดวกและมีสีสันสวยงาม ซึ่งเป็นรูปแบบการติดต่อที่ได้รับความนิยมสูง

รูปแบบการติดต่อผู้ใช้งาน


1) รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้งาน 2 แบบ ดังนี้
                1.1) แบบบรรทัดคำสั่ง (command – line interface) เป็นรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ในยุกต์แรกๆ โดยผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งให้ระบบปฏิบัติการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งจึงได้รับความนิยมลดลง แต่รูปแบบการติดต่อแบบบรรทัดคำสั่งยังมีความจำเป็นกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เช่น การบันทึกไฟล์ข้อมูล การซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย เป็นต้น
                ตัวอย่างรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่งของระบบปฏิบัติการดอส เช่น
                cd\     ทำการย้ายการทำงานไปที่ไดรฟ์ C
                C:\>dir     ทำการแสดงรายชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ทั้งหมดที่อยู่ในไดรฟ์ C

ระบบปฏิบัติการ

               

             ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือเรียกย่อๆ ว่า โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักหน่วยความจำสำรอง และหน่วยส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงและสนับสนุนคำสั่งในการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ด้วย บางครั้งระบบปฏิบัติการนิยมเรียกว่า แพลตฟอร์ม (platform)



วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ระบบ

            ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์กล่าวคือเป็นโปรแกรมควบคุมและประสารการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งดำเนินงานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น สั่งให้รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ สั่งให้ซีพียูคำนวณผล สั่งให้แสดงผลทางลำโพง เป็นต้น ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้